1. สัมประสิทธิ์การเรียกหลักประกันและอัตราหลักประกันคืออะไร
สัมประสิทธิ์ของเลเวอเรจ 10 เท่าคือ 10%
สัมประสิทธิ์ของเลเวอเรจ 20 เท่าคือ 20%
อัตราหลักประกันของหลักประกันตายตัว = (หลักประกัน + UPL)/หลักประกันโพซิชัน - สัมประสิทธิ์การปรับแก้
อัตราหลักประกันของแบบข้ามหลักประกัน = ยอดคงเหลือส่วนของผู้ถือหุ้น/หลักประกันของโพซิชัน - สัมประสิทธิ์การปรับแก้
ถ้าอัตราหลักประกันของนักลงทุนถึง 0% การเรียกหลักประกันจะถูกทริกเกอร์ สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง:
สำหรับสัญญา LTC แบบ 10 เท่า ถ้าสูญเสียถึง 90% ของหลักประกันของโพซิชัน การเรียกหลักประกันจะถูกทริกเกอร์
สำหรับสัญญา LTC แบบ 20 เท่า ถ้าสูญเสียถึง 80% ของหลักประกันของโพซิชัน การเรียกหลักประกันจะถูกทริกเกอร์
2. การบังคับชำระหนี้คืออะไร
ในโหมดข้ามหลักประกัน การบังคับชำระหนี้จะถูกทริกเกอร์เมื่ออัตราหลักประกันของบัญชีต่ำกว่า 0% ซึ่ง:
เลเวอเรจ 10 เท่า: ส่วนของผู้ถือหุ้นของบัญชีเท่ากับหรือน้อยกว่า 10% ของหลักประกันของโพซิชัน
เลเวอเรจ 20 เท่า: ส่วนของผู้ถือหุ้นของบัญชีเท่ากับหรือน้อยกว่า 20% ของหลักประกันของโพซิชัน
หลังจากการบังคับชำระหนี้ถูกทริกเกอร์ โพซิชันที่เปิดทั้งหมดจะถูกยกเลิก ตามด้วยการบังคับขายโพซิชันที่ถืออยู่ในราคาที่ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบัญชี = 0 จนกระทั่งอัตราหลักประกันเท่ากับหรือมากกว่า 0%
ในโหมดหลักประกันตายตัว การบังคับชำระหนี้จะถูกทริกเกอร์เมื่ออัตราหลักประกันของบัญชีต่ำกว่า 0% หลังจากการบังคับชำระหนี้ถูกทริกเกอร์ โพซิชันที่ถืออยู่ทั้งหมดจะถูกปิดตามราคาเพื่อแก้ไขหลักประกันให้เป็นศูนย์ (ราคาสุดท้ายอาจต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อม) การสูญเสียจะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับหลักประกันเริ่มต้นที่วางสำหรับฝ่ายของสัญญา
ในโหมดข้ามหลักประกัน โพซิชันทั้งหมดของสัญญาทั้งหมดจะถูกปิดเมื่อการบังคับชำระหนี้ถูกทริกเกอร์ โพซิชันทั้งหมดของฝ่ายเดียวกันของสัญญานี้จะถูกบังคับปิด แต่โพซิชันทั้งหมดของฝ่ายตรงข้ามและสัญญาอื่น ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบ
เมื่อการบังคับชำระหนี้ถูกทริกเกอร์ ระบบจะส่งคำสั่งปิดโพซิชันที่ถืออยู่ทั้งหมดไปที่ตลาดในราคาที่ทำให้ยอดคงเหลือส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับศูนย์ (ราคาจะแสดงเป็นราคาที่ดำเนินการแล้วของคำสั่งชำระหนี้) อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดำเนินการแล้วสุดท้ายอาจต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อม ถ้าคำสั่งชำระหนี้ไม่ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ มันจะถูกแสดงในรายชื่อคำสั่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ถ้าคำสั่งบังคับชำระหนี้ถูกดำเนินการอย่างเต็มที่ มันจะปรากฏในรายชื่อคำสั่งที่ดำเนินการแล้ว
ผู้ใช้สามารถตรวจสอบสถานะของคำสั่งได้ในรายชื่อคำสั่งการชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ถูกทริกเกอร์แล้ว โพซิชันที่ถืออยู่ทั้งหมดจะถูกครอบครองและแยกจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบัญชีผู้ใช้ ถ้าคำสั่งชำระหนี้ยังไม่ถูกดำเนินการอย่างเต็มที่ คำสั่งที่ยังไม่ดำเนินการจะถูกถือว่าเป็นโพซิชันที่ล้มละลาย และจะถูกจัดการทางสังคมด้วยกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้ทั้งหมดในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ถ้าคำสั่งถูกดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังมียอดคงเหลือค้างอยู่ ยอดคงเหลือจะถูกเครดิตเข้ากองทุนประกันภ้ย
3. กฎการชำระหนี้และการจัดการความเสี่ยง
การซื้อขายล่วงหน้าของเรามีโหมดหลักประกันตายตัว โหมดข้ามหลักประกัน และโหมดราคาการชำระหนี้ นักลงทุนสามารถเลือกได้แค่โหมดหลักประกันตายตัวหรือข้ามหลักประกันเท่านั้น ตามสไตล์การซื้อขายของตน
ถ้าผู้ใช้เลือกโหมดข้ามหลักประกัน ยอดคงเหลือส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบัญชีซื้อขายล่วงหน้าของตน รวมกับกำไรและขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้วทั้งหมดจะถูกใช้เป็นหลักประกันโพซิชัน (อัตราหลักประกัน = หลักประกันรวม / หลักประกันโพซิชัน - สัมประสิทธิ์การปรับแก้) สำหรับเลเวอเรจ 10 เท่า สัมประสิทธิ์การปรับแก้คือ 10% สำหรับเลเวอเรจ 20 เท่า สัมประสิทธิ์การปรับแก้คือ 20% เมื่ออัตราหลักประกันเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 บัญชีจะถูกชำระหนี้ โพซิชันทั้งหมดจะถูกบังคับปิด และคำสั่งบังคับชำระหนี้ที่ยังไม่ดำเนินการจะถูกหักลบกลบหนี้โดยกองทุนประกันภัยหรือถูกจัดการทางสังคม
ถ้าผู้ใช้เลือกโหมดหลักประกันตายตัว หลักประกันเริ่มต้นที่ต้องการก็จะเป็นหลักประกันโพซิชันด้วย (อัตราหลักประกัน = (หลักประกันโพซิชัน + UPL) / หลักประกันเริ่มต้น - สัมประสิทธิ์การปรับแก้) สำหรับเลเวอเรจ 10 เท่า สัมประสิทธิ์การปรับแก้คือ 10% สำหรับเลเวอเรจ 20 เท่า สัมประสิทธิ์การปรับแก้คือ 20% เมื่ออัตราหลักประกันเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 บัญชีจะถูกชำระหนี้ โพซิชันทั้งหมดของฝ่ายเดียวกันของสัญญานี้จะถูกบังคับปิด แต่โพซิชันทั้งหมดของฝ่ายตรงข้ามและสัญญาอื่น ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบ
โหมดข้ามหลักประกัน: BTC และ LTC ทั้งหมดที่พร้อมใช้งานในบัญชีซื้อขายล่วงหน้าจะถูกถือว่าเป็นหลักประกันโพซิชัน ดังนั้น จำนวนเงินหลักประกันจะเปลี่ยนไปตามการผันผวนของราคาด้วย เมื่อราคาซื้อขายล่วงหน้าเคลื่อนไหวไปในทางที่นักลงทุนไม่ต้องการ ส่วนของผู้ถือหุ้นของนักลงทุนก็จะลดลง เมื่ออัตราหลักประกันเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 บัญชีจะถูกชำระหนี้ การสูญเสียจะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับยอดคงเหลือส่วนของผู้ถือหุ้นของบัญชีซื้อขายล่วงหน้าของตน ผู้ใช้สามารถเพิ่มหลักประกันหรือเปลี่ยนจำนวนสัญญาเพื่อควบคุมตัวคูณเลเวอเรจได้ หลักประกันยิ่งสูง จำนวนสัญญาก็ยิ่งต่ำ ดังนั้น ตัวคูณเลเวอเรจยิ่งต่ำ ความเสี่ยงที่จะทริกเกอร์การบังคับชำระหนี้ก็ยิ่งต่ำลงไปด้วย
โหมดหลักประกันตายตัว: ระบบจะถึอว่าหลักประกันเริ่มต้นเป็นหลักประกันโพซิชันด้วย ดังนั้น จำนวนเงินหลักประกันจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าราคาซื้อขายล่วงหน้าจะผันผวนก็ตาม เมื่อราคาซื้อขายล่วงหน้าเคลื่อนไหวไปในทางที่นักลงทุนไม่ต้องการ ก็จะเกิดการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น (อัตราหลักประกัน = (หลักประกันโพซิชัน + UPL) * ราคาเปิดเฉลี่ย * เลเวอเรจ / (มูลค่าตามหน้าตราสาร * จำนวนสัญญา) - สัมประสิทธิ์การปรับแก้) สำหรับเลเวอเรจ 10 เท่า สัมประสิทธิ์การปรับแก้คือ 10% สำหรับเลเวอเรจ 20 เท่า สัมประสิทธิ์การปรับแก้คือ 20% เมื่ออัตราหลักประกันเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 บัญชีจะถูกชำระหนี้ การสูญเสียจะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับหลักประกันเริ่มต้นที่วางสำหรับฝ่ายของสัญญา
โหมดราคาการชำระหนี้: เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซึ่งนำไปสู่การบังคับชำระหนี้ของหลาย ๆ โพซิชัน การซื้อขายล่วงหน้าของ OKEx จึงมีโหมดราคาการชำระหนี้สำหรับนักลงทุนเพื่อการลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด เมื่อบัญชีของผู้ใช้ถูกชำระหนี้ โพซิชันที่ถืออยู่ทั้งหมดจะถูกปิดตามราคา แทนที่จะใช้ราคาตลาด เพื่อแก้ไขยอดคงเหลือส่วนของผู้ถือหุ้นของบัญชีให้เป็นศูนย์ โหมดนี้ช่วยในการหลีกเลี่ยงการทุบตลาดและลดการเคลื่อนไหวของราคาในการซื้อขายล่วงหน้าด้วย ถ้าคำสั่งชำระหนี้ยังไม่ถูกดำเนินการอย่างเต็มที่หลังจากการชำระสะสาง คำสั่งที่ยังไม่ดำเนินการจะถูกถือว่าเป็นโพซิชันที่ล้มละลาย และจะถูกจัดการทางสังคมด้วยกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้ทั้งหมดในตลาดซื้อขายล่วงหน้า
ถ้าขนาดของโพซิชันของผู้ใช้หรือคำสั่งที่เปิดอยู่รวมแล้วถึงระดับที่อาจก่อให้เกิดการเรียกคืนในระบบซื้อขายล่วงหน้าหรือต่อผู้ใช้รายอื่น ๆ OKEx อาจขอยกเลิกคำสั่งของคุณหรือปิดส่วนหนึ่งของโพซิชันของคุณ และสำหรับมาตรการขั้นเด็ดขาด OKEx สงวนสิทธิ์ที่จะจำกัดหรือยกเลิกบางส่วนของโพซิชันหรือคำสั่ง เพื่อลดความเสี่ยงในระบบ
4. กองทุนประกันภัยคืออะไร
กองทุนประกันภัยถูกตั้งขึ้นเพื่อหักลบกลบหนี้การขาดทุนกลุ่มที่เกิดขึ้น หรือชำระสะสางเหตุการณ์ในการซื้อขายล่วงหน้า แหล่งที่มาของกองทุน โดยส่วนใหญ่จะมาจาก OKEx และค่าพรีเมียมหลังจากการบังคับชำระหนี้
5. การขาดทุนกลุ่มและระบบการเรียกคืนบัญชีแบบเต็ม
การซื้อขายล่วงหน้าของ OKEX ใช้ระบบ “การเรียกคืนบัญชีแบบเต็ม” เพื่อคำนวณอัตราเรียกคืน การเรียกหลักประกันที่สูญเสียของระบบจากสัญญาทั้งหมดสามรายการจะถูกผสานและการเรียกคืนจะถูกคำนวณตามกำไรจากบัญชีทั้งหมดของผู้ใช้ แทนที่จะคำนวณการเรียกหลักประกันที่สูญเสียของแต่ละสัญญา แล้วเรียกคืนแยกกัน ผู้ใช้ที่มีกำไรสุทธิจากสัญญาทั้งหมดสามรายการในสัปดาห์นั้นเท่านั้นที่จะได้รับการเรียกคืน โดยการเรียกคืนจะเกิดขึ้นเมื่อกองทุนประกันภัยมีกองทุนไม่พอที่จะหักลบกลบหนี้การเรียกหลักประกันที่ขาดทุนรวมของระบบเท่านั้น
การชำระสะสางและการส่งมอบสัญญาทั้งสาม (รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายไตรมาส จะเกิดขึ้นในเวลา 16.00 น. ของทุกวันศุกร์ (เวลาฮ่องกง)
ตัวอย่างเช่น:
คำสั่งชำระหนี้ที่ยังไม่ดำเนินการระหว่างการชำระสะสาง:
รายสัปดาห์: ไม่มี
รายปักษ์: -100BTC
รายไตรมาส: -20BTC
การเรียกหลักประกันที่ขาดทุนรวมของระบบ = ขาดทุนรายสัปดาห์ + ขาดทุนรายปักษ์ + ขาดทุนรายไตรมาส = 0BTC-100BTC-20BTC = -120BTC
ถ้าการขาดทุนของระบบ + กองทุนประกันภัย >= 0 แล้ว อัตราเรียกคืน = 0
ถ้าการขาดทุนของระบบ + กองทุนประกันภัย <0 แล้ว อัตราเรียกคืน = (การขาดทุนของระบบ + กองทุนประกันภัย) / กำไรสุทธิจากทุกสัญญา
ตัวอย่างเช่น:
การขาดทุนของระบบ: -120BTC
กองทุนประกันภัย = 100BTC
กำไรจากทุกสัญญา = 20,000BTC
อัตราเรียกคืน = (-120BTC+100BTC) / 20,000BTC = 0.1%
จำนวนเงินเรียกคืนสำหรับผู้ใช้ที่ได้กำไรสุทธิจากทุกสัญญา = (กำไรจากสัญญารายสัปดาห์ + กำไรจากสัญญารายปักษ์ + กำไรจากสัญญารายไตรมาส) * อัตราเรียกคืน
จำนวนเงินเรียกคืนจะถูกหักจากกำไรโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างเช่น กำไรที่ผู้ใช้ได้รับ:
รายสัปดาห์ = 3BTC
รายปักษ์ = -2BTC
รายไตรมาส = 1BTC
รวม = 3-2+1 = 2BTC
ถ้าอัตราเรียกคืน = 0.1% แล้ว จำนวนเงินเรียกคืนของผู้ใช้จะเท่ากับ 2BTC * 0.1% = 0.002BTC